เทคนิค ( ไม่ลับ ) พิชิตใจลูกค้า ให้ใช้งานแอพของคุณ

         หลายๆ ท่านคงเคยใช้งานแอพหลายๆ แอพมาแล้ว และถ้าหากผมย้อนกลับถามคุณไปว่า ถ้าให้นึกถึงชื่อแอพมากสัก 2-3 ชื่อ ก็คงจะหนีไม่พ้นแอพชื่อดังอย่าง Facebook, Instagram, Twitter หรือถ้าหากเป็นกลุ่ม Food Delivery ก็จะเป็น Grab, Food Panda นั่นเอง และในทุกๆ วัน หากคุณได้ลองสังเกตุพฤติกรรมของคุณแล้วล่ะก็ ตั้งแต่การตื่นนอน การทานอาหาร ไปจนตลอดถึงการเข้านอนในช่วงดึกของทุกๆ วัน คุณสังเกตุไหมว่า บางครั้งเราใช้เฟสบุ๊คคุยกันมากกว่า คุยกันต่อหน้าเสียอีก หรือถ้าจะเอาให้ชัดเจนก็คือ คุณใช้โทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา และกว่า 70-80% คุณได้ใช้แอพที่กล่าวมาข้างต้น เพราะอะไรกันล่ะ ทำไมแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ถึงมีบทบาท ในชีวิตคุณขนาดนี้ ?

วันนี้เราจึงจะมาเล่าถึงเทคนิค ที่ไม่ลับ ของเจ้าของธุรกิจ หรือ บริษัทรับทำแอพต่างๆ ที่ผลิตแอพออกมาให้คุณได้ใช้กัน

         สิ่งเหล่านั้นที่ทำให้คุณอยากใช้แอพ ติดการใช้แอพนั้นก็คือ Hooked Model ซึ่งเป็นเทคนิคที่หลายๆ แอพ รวมถึง Facebook ออกแบบขึ้นมา หรือบริษัทรับทำแอพต่างๆ ได้นำมาใช้ เพื่อใช้ในการดึงดูด และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Habit) ของผู้ใช้ (User) ให้เกิดการรู้สึกว่า เราต้องใช้แอพนี้ตลอดเวลา เข้าไปทำอะไรกับมันสักอย่าง (Engage) ซึ่งแล้วแต่ผู้ผลิตแอพกำหนดนั่นเอง ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ที่ออกแบบหรือ คิดค้นวิธี Hooked Model นั่นมาจาก Nir Eyal ที่ออกแบบให้แอพพลิเคชั่นนั้น ทำให้คนติดหนึบ มี Engage กับ Product ตลอดเวลา

         โดยผมจะยกตัวอย่าง จาก Facebook โดยมีจุดเริ่มต้นนั้นอาจจะมาจากการแก้เบื่อ หรือการเหงา อยากรู้ อยากอัพเดต อยากแชร์ข้อมูลส่วนตัว ให้เป็นที่ชื่นชม ทำให้ผู้ใช้ ( User ) เกิดการรู้สึกว่า มันก็ไม่ได้อะไรบ้าง แบบว่าใช้ Product นี้ก็ดีนะ สนุกดีๆ ( Nice to have ) แต่พอลูกค้าเริ่มใช้ก็เริ่มติด จนขาดไม่ได้ มีตัวตน มีภาพ มีความทรงจำเราในนี้ หากลบแอพ หรือ Delete Account จะทำให้รู้สึกว่าขาดอะไรไป เพราะว่าผู้ใช้งาน กว่าจะรู้ตัวก็สายไปแล้ว เพราะว่า Hooked Model นั้นออกแบบมาให้คนรู้สึกว่า ต้องเข้าไปใช้งาน และรู้สึกว่าขาดมันไม่ได้ ดังนั้นหลายๆ แอพพลิเคชันที่สร้างมานั้น ไม่ได้ Solve pain ให้แก่ User แต่เป็นการเปลี่ยน Behavior จาก “ มีก็ดีนะ “ (Vitamin) เป็น “ขาดไม่ได้” (Pain Killer) ได้นั่นเอง ถ้าให้นึกภาพง่ายๆ ปัจจุบันเราเข้าแอพดู สภาพอากาศ กับ Facebook อันไหนมากกว่ากัน ทั้งๆ ที่ แอพดูสภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน นั้นดีกว่า Facebook เสียอีก แต่สิ่งที่ทำให้เราต้องเข้าเฟสบุ๊คนั้นคือ พฤติกรรม หรือสังคมต่างๆ ใน Social Media ทำให้เราเกิดการอยากรู้ อยากติดตาม และต้องเปิดดูทุกๆ เช้า หลังตื่นนอนทุกๆ วัน

ปัจจัยที่เหล่าๆ นักพัฒนา หรือบริษัท รับทำแอป ต่างๆ ใช้ Hooked Model ทำให้ User ติดจนเป็นนิสัยขึ้นมา ?

  1. ความถี่ ( Frequency) – ยิ่งเราทำอะไรบ่อยๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เราก็ยิ่งมีโอกาสที่สิ่งนั้นจะเกิดติดเป็นนิสัยขึ้นมาได้ สังเกตุง่ายๆ เมื่อก่อนเราทำงานกันที่ ออฟฟิศ ประชุมในห้องประชุม แต่ปัจจุบัน ยุค Covid-19 ทำให้เราต้อง Work From Home และ Meeting in Zoom ทำให้พฤติกรรมเรานี้ เปลี่ยนนิสัยเรา เพราะเกิดจากความถี่ ที่เราทำกันเป็นเวลานานนั่นเอง
  2. การเปลี่ยนมุมมองของผู้ใช้งานต่อ Product เรา ( Attitude Change) – การให้ User เห็นว่าการใช้ Product หรือ แอปพลิเคชันของเรานั้น ตอบสนองความต้องการของเขามากกว่า ที่จะเลือกทำอย่างอื่น

         ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง Attitude Change ปกติบริษัททั่วไป จะใช้โฆษณา ( Advertise ) ในการเปลี่ยนมุมมองของ User ต่อ Product ของเขา โดยจะให้เราเห็นโฆษณาบ่อยๆ และทำให้เรารู้สึกคุ้นชิน แต่ถ้าหากเป็น แอพ Facebook , Twitter, Grab , Food Pandas นั้น เขาเปลี่ยนมุมของของ User ผ่านประสบการณ์ในการใช้งานนั่นเอง อีกทั้งถ้าหากว่า User ใช้แล้วเกิดติด หรือเกิดชอบขึ้นมานั้น จะเกิดประสบการณ์ที่เรียกว่า Viral หรือ Word of mount เป็นการบอกปากต่อปาก เมื่อ User บอกต่อถี่ๆ ทุกๆ วัน ย่อมทำให้ธุรกิจแอปพลิเคชันเหล่านี้ เกิดเติบโต โดยที่ใช้งบการตลาดเพียงไม่กี่บาท เพื่อสร้าง Awareness ให้กับแอพของคุณนั่นเอง และการเติบโตแบบก้าวกระโดดแบบนี้จะถูกเรียกว่า Exponential Growth คือการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมี User หลักพันล้านใช้งาน แอปพลิเคชัน

         โดยวันนี้บริษัท SC-Spark Solution บริษัทรับทำแอพ สำเร็จรูป แอปเดลิเวอรี่ ได้นำเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการวางแผนทำแอพของคุณ เพื่อที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม ( Habit ) ของ User ให้สร้าง Engagement ต่อ Product ของคุณอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่คุณทำแอปพลิเคชันเสร็จแล้ว ดังนั้นก่อนอื่นเลย คุณต้องตอบให้ได้ก่อนคือ

  1. Product ของเราคืออะไร
  2. ทำไม Product เราถึงต้องอาศัยการสร้าง Habit ขึ้นมา
  3. User หรือ Customer ของเราคือใคร
  4. เขาต้องการอะไรหรือมี Problem อะไร ถึงมาใช้ Product ในแอพของเรา
  5. เขา ( User ) แก้ Problem ของเขาอย่างไรในขณะนี้
  6. Action ไหนที่เราต้องการให้ลูกค้าทำให้เกิดเป็นนิสัย เช่นเช็ค Feed/timeline , กดไลค์ , check-in, กดอ่าน, view ในแอปพลิเคชันของเรา หลังจากที่คุณทำแอพนั้นสำเร็จขึ้นมา

         เมื่อคุณ Follow up ทั้ง 6 ข้อแล้ว จากนั้นคุณก็จะสามารถเริ่มใช้หลัก Hooked Model ในการสร้างพฤติกรรมของ User ให้เป็นไปตามแบบที่คุณต้องการได้แล้ว

 


 

สำหรับท่านที่ต้องการทำ แอพ E-Commerce , App ช้อปปิ้ง หรือ แอพ Delivery แล้วล่ะก็ เราขอแนะนำ บริษัท SC-Spark Solution  บริษัท รับทำแอป เป็นบริษัทที่รับทำแอพพลิเคชั่น ที่มากประสบการณ์ โดยมีประสบกาณ์โดยตรงจาก Silicon Valley เป็นบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นมากกว่า 100 บริษัททั่วโลก ทั้งแบบ Custom และ สำเร็จรูปให้คุณได้เลือกใช้ หากใครสนใจ บริการทำโมบายแอพพลิเคชั่น หรือ เว็บไซต์ สามารถติดต่อได้ที่นี่  

ติดต่อเราได้ที่

062-974-9495

Line : @scspark

Email : [email protected]

Facebook : SC-Spark Solution บริการทำแอปพลิเคชั่น


“Nothing is impossible”