อีเธอเรียม (Ethereum) คืออะไร?

        อีเธอเรียม (Ethereum: ETH) เป็นสกุลเงินดิจิตอลที่ถือกำเนิดหลังจากบิทคอยน์ คิดค้นโดย Vitalik Buterin ชาวรัสเซีย ก่อตั้งโดยชายวัยรุ่นชาวรัสเซียชื่อ “วิทาลิก บูเทริน”

อีเธอเรียมเป็น เงินดิจิทัลเหมือนกับบิตคอยน์ แต่เป็น แพลตฟอร์มบล็อกเชนสาธารณะ ที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ Smart Contract

จุดเด่นของอีเธอเรียม (Ethereum) คืออะไร?

        จุดเด่นชอง อีเธอเรียม (Ethereum) คือการที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถเขียนโปรแกรมลงไปในข้อมูลของเหรียญ ที่เรียกว่า Smart Contract โดยจะเป็นการสร้างเงื่อนไขขึ้นมาตามที่เรากำหนด เมื่อมีใครทำตามเงื่อนไขนั้นสำเร็จ ก็จะได้รางวัลที่เรากำหนดไว้เป็นการตอบแทนทำให้นักพัฒนาจำนวนมากหันมาสนใจ Ethereum และนำระบบ Smart Contract ไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายธุรกิจทั่วโลก ตัวอย่างของการนำระบบ Smart Contract ไปใช้งาน ก็อย่างเช่น

  • การชำระค่าเช่าหอพัก โดยเป็นการทำสัญญาในระบบไว้ว่า ให้ผู้เช่าโอนเงินจ่ายค่าเช่าภายในวันที่ 30 ของแต่ละเดือน ซึ่งหากมีการโอนเงินเข้ามา Blockchain จะบันทึกข้อมูลไว้ ผู้เช่าก็จะสามารถอาศัยในหอพักได้ตามปกติ แต่หากไม่มีการโอนเงินเข้ามา หรือโอนมาไม่ครบ ระบบก็จะทำการล็อกประตูอัตโนมัติ ไม่ให้ผู้เช่าเข้ามาใช้งานหอพักต่อได้
  • การชำระค่าบัตรเครดิต โดยผู้ใช้และธนาคารอาจมีการทำสัญญาร่วมกันไว้ว่าให้ระบบตัดเงินจากบัญชีผู้ใช้อัตโนมัติ เพื่อนำไปชำระค่าบัตรเครดิตทุกสิ้นเดือน โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปธนาคาร หรือโอนเงินด้วยตัวเอง
  • ธุรกิจเช่ารถ อาจมีการออกแบบให้รถยนต์เชื่อมต่อกับระบบ Blokchain ไว้ และจอดทิ้งโดยไม่ต้องมีคนมาคอยเฝ้าก็ได้ เพราะเมื่อมีลูกค้าเห็นรถและสนใจที่จะเช่า ก็เพียงแค่โอนเงินเข้ามาในบัญชีที่เราระบุไว้ ระบบ Smart Contract จะตรวจสอบและเปิดประตูให้ลูกค้าสามารถขับรถออกไปได้เลย
  • Ethereum (ETH) เป็นหนึ่งในสกุลเงินดิจิทัล (Cypto currency) ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ทำงานอยู่เบื้องหลัง เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ สกุลเงิน ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย Vitalik Buterin เด็กหนุ่มอัจฉริยะชาวรัสเซีย ที่ครั้งหนึ่งเขาเคยอยู่ในทีมพัฒนาของ Bitcoin ก่อนจะแยกตัวออกมาสร้าง Ethereum ในปี 2556

1 Ethereum เท่ากับกี่บาท?

        Ethereum เปิดซื้อ-ขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2558 โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแรกไว้ที่ 1 ETH เท่ากับ 2.83 เหรียญสหรัฐ หรือราว 90 บาท หลังจากนั้นมูลค่าของ Ethereum ก็ขยับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งในเดือนมกราคม 2561 ราคา Ethereum ทำสถิติพุ่งไปถึงระดับ 1,300 เหรียญสหรัฐ หรือราว 40,000 บาท แม้ปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2561) ราคา Ethereum จะปรับลงมาอยู่ที่ระดับ 800 เหรียญสหรัฐ หรือราว 25,000 บาท แต่ก็ยังถือว่าเป็นเหรียญที่มีการเติบโตสูงมากอยู่ดี เมื่อเทียบกับตอนเปิดตัวเหรียญครั้งแรกในปี 2558

Miner ได้อะไรจากการประมวลผล Smart Contract

        Ethereum สามารถทำให้ blockchain network สามารถประมวลผลอะไรก็ได้ ซึ่งคำว่าประมวลผลอะไรก็ได้นั้น หมายถึงว่า ผู้ใช้งานสามารถเขียน code เพื่อไปฝากไว้ที่ Ethereum network และเมื่อมีใครคนอื่น (หรือเราเองก็ได้) เรียกใช้งาน code นี้

        ตัวคนที่อุทิศตัวเป็น miner ก็จะหยิบเอา code ของเรามาประมวลผลให้ซึ่งคนที่เรียกใช้งานนั้น นอกจะเรียกเฉยๆได้แล้ว ยังสามารถส่ง parameter ต่างๆ มาให้ code เหล่านี้ประมวลผล parameter นั้นๆ ได้ ซึ่งเรียกกันว่า Smart Contract

        ผลตอบแทนเหล่า miner นั้น คือ การที่คนที่ต้องการประมวลผล code ทำการจ่ายค่า fee ซึ่งค่า fee นี้จะคิดจาก code ที่จะถูกทำงานแบ่งเป็น operation ต่างๆ ซึ่งแต่ละ operation ก็จะมีค่า fee ที่จะคิดไม่เท่ากัน ตามความหนักเบาของการใช้งาน CPU

        ค่า fee ที่กล่าวมา ในทางโลก Ethereum โดย ศัพท์ที่เรียกค่านี้ ซึ่งก็คือคำว่า Gas โดยที่ค่า Gas นี้จะมีค่าเท่ากับ 10 Szabo หรือประมาณ 1 ใน 100,000 Ether (Szabo หรือ ETH คือหนึ่งในหน่วยเงินในโลก Ethereum ครับ โดยที่เรียกจากหน่วยเล็กสุดไปมากสุดดังนี้ Wei < Kwei < Mwei < Gwei < Szabo < Finney < Ether < Kether < Mether < Gether < Tether)

ความแตกต่างระหว่าง Proof of Work และ Proof of Stake

        เริ่มแรกที่เดียว Ethereum ใช้ Proof of Work แต่ต่อมา นาย Vitalik Buterin เปลี่ยนมาใช้ Proof of Work โดยอ้างอิงจากกฎ consensus ของ Proof of stake คือ การสร้างบล็อกใหม่จะถูกกำหนดโดย “ความรวย” ของผู้ถือเหรียญ ที่เป็น มัดจำในการเข้าร่วม

        สาเหตุที่เปลี่ยนจาก proof of work มาเป็น proof of stake เพื่อที่มีการหา distributed consensus ได้นั้น นักขุดจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมาก โดยอ้างอิงข้อมูลจากปี 2015 นั้น การจะสร้าง Bitcoin ขึ้นมา 1 BTC จะต้องใช้พลังไฟฟ้าที่มากถึงบ้านของประชากรอเมริกัน 1.57 ครัวเรือนต่อวัน และต้นทุนค่าไฟเหล่านี้ถูกจ่ายด้วยเงินสด ซึ่งนั่นอาจทำให้เกิดปัญหาด้านมูลค่าเศรษฐกิจของเหรียญ cryptocurrency ในระยะยาวได้ อีกทั้งความปลอดภัย เท่ากันกับ Proof of work ในขณะที่ ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : What is Ethereum?

 


 

สำหรับท่านที่ต้องการทำ แอพ E-Commerce , App ช้อปปิ้ง หรือ แอพ Delivery แล้วล่ะก็ เราขอแนะนำ บริษัท SC-Spark Solution  บริษัท รับทำแอป เป็นบริษัทที่รับทำแอพพลิเคชั่น ที่มากประสบการณ์ โดยมีประสบกาณ์โดยตรงจาก Silicon Valley เป็นบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นมากกว่า 100 บริษัททั่วโลก ทั้งแบบ Custom และ สำเร็จรูปให้คุณได้เลือกใช้ หากใครสนใจ บริการทำโมบายแอพพลิเคชั่น หรือ เว็บไซต์ สามารถติดต่อได้ที่นี่  

ติดต่อเราได้ที่

062-974-9495

Line : @scspark

Email : [email protected]

Facebook : SC-Spark Solution บริการทำแอปพลิเคชั่น


“Nothing is impossible”