ถ้าพูดถึงรายได้ 1 / 3 ของประเทศก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการท่องเที่ยวของไทย แต่ในยุคโควิด-19แบบนี้ เรียกได้ว่ากระทบต่อธุรกิจหลายๆด้านมากๆ ทั้งธุรกิจโรงแรม ธุรกิจนวดแผนไทย และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ไม่มีนักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายเงินเลย แล้วสิ่งที่จะช่วยให้การท่องเที่ยวกลับมามีรายได้เหมือนเดิม นั้นก็คือการที่คนไทยได้รับวัคซีนกันเกิน 80% ของประชากรทั้งประเทศ

        ทั้งนี้ ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ และคณะ ในงานวิจัยชื่อ “กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาสำหรับการท่องเที่ยวไทยหลังโควิค 19” ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในปี 63 ซึ่งผมได้มีโอกาสเป็นผู้ดำเนินการเสวนาเผยแพร่งานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในธุรกิจด้านการท่องเที่ยว และหน่วยงานภาครัฐในการกำหนดนโยบาย ที่จัดในช่วงเดือนเมษายน 64 มาขยายความต่อกับผู้อ่าน

        งานวิจัยของ ศ. ดร.มิ่งสรรพ์และคณะ มีข้อมูลอยู่หลายส่วน ผมขอยกเฉพาะในส่วนที่เป็นการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านการท่องเที่ยวของโลก ที่นักวิจัยรวบรวมข้อมูลเอกสาร งานวิจัยต่าง ๆ ทั้งจากภายในและนอกประเทศนำมาทำการวิเคราะห์ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

แนวโน้มการท่องเที่ยวโลกก่อนโควิด-19

        ตลาดการท่องเที่ยวของโลกในช่วงก่อน covid-19 มีแนวโน้มสำคัญหลายประการ ที่เมื่อการท่องเที่ยวกลับมาสู่ภาวะปกติ แนวโน้มเหล่านี้ก็น่าจะยังคงอยู่ และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบด้วย

        1. แนวโน้มด้านดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital platform) หรือการใช้ Online platform และสื่อสังคมออนไลน์ เป็นช่องทางในการสืบค้นข้อมูล วางแผน และปรับแผนด้านการท่องเที่ยว รวมถึงใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารถ่ายทอดประสบการณ์ทางด้านการท่องเที่ยว แนวโน้มนี้เป็นกันทั่วโลกครับ หลัง covid เมื่อนักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวตามปกติการสืบค้นข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยิ่งน่าจะมีการเติบโตขึ้น แต่ Digital platform ด้านการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมส่วนใหญ่เป็นแพลตฟอร์มของต่างประเทศ ซึ่งการเข้ามามีอิทธิพลของแพลตฟอร์มเหล่านี้ เมื่อนักท่องเที่ยวจองโรงแรม เจ้าของแพลตฟอร์มในต่างประเทศก็ได้ส่วนแบ่งรายได้ ยิ่งเจ้าของแพลตฟอร์มมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจโรงแรมต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าของแพลตฟอร์มมากขึ้น ในเมื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักของไทย การสร้างแพลตฟอร์มกลางทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อเป็นทางเลือก อย่างน้อยให้กับนักท่องเที่ยวไทยก็น่าจะช่วยคานอำนาจกับแพลตฟอร์มต่างชาติได้ในระดับหนึ่ง

        2. ทะเลสาบแห่งข้อมูลด้านการท่องเที่ยว (Data Lake) แนวโน้มที่ต่อเนื่องจากเรื่องการใช้ Digital platform ในการสืบค้นและวางแผนข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ทำให้เกิดข้อมูลบนโลกออนไลน์ปริมาณมหาศาล การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาสู่การพยากรณ์ในด้านต่าง ๆ รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงหรือความอ่อนไหวของนักท่องเที่ยวในประเด็นต่าง ๆ จะช่วยทำให้การวางแผนด้านนโยบายการท่องเที่ยวระดับประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับเอกชนก็สามารถใช้ข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจ ซึ่งการรวบรวมข้อมูลทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานด้านการท่องเที่ยวในช่วงเวลาต่าง ๆ จะนำมาสู่การบริหารจัดการขีดความสามารถทางด้านการท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละเวลา ได้อย่างเหมาะสม ลดความคับคั่ง ลดปัญหาการจัดการด้านขยะ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการรองรับนักท่องเที่ยวมากเกินความสามารถของพื้นที่ และยังช่วยให้เกิดการกระจายกลุ่มนักท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ที่ยังมีขีดความสามารถในการรองรับในช่วงเวลานั้น

        3. ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) จากแนวโน้ม 2 เรื่องแรกที่กล่าวไปแล้ว ทั้งระบบข้อมูลและระบบการชำระเงินในระบบออนไลน์ ที่ส่วนใหญ่จะใช้การเก็บข้อมูลบน Cloud ระบบความปลอดภัยด้านไซเบอร์จึงมีความสำคัญ เนื่องจากในธุรกิจโรงแรมมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า ไว้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการนำมาวิเคราะห์และให้บริการ รวมถึงข้อมูลบัตรเครดิต หรือการชำระเงินด้วยรูปแบบดิจิทัล หากไม่มีระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดี โอกาสที่ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวจะถูกแฮกเกอร์เข้ามาขโมยข้อมูลในระบบ หรือเรียกค่าไถ่ข้อมูล รวมถึงการที่พนักงานนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ในการทุจริต ซึ่งอาจนำมาสู่ความเสียหายให้กับธุรกิจทั้งรูปตัวเงินและชื่อเสียง

        4. การท่องเที่ยวที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายมากขึ้น (Diversity and Flexibility) กลุ่มนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มจะท่องเที่ยวด้วยตัวเองกับครอบครัวกลุ่มเล็ก ๆ โดยใช้แพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวในการวางแผน มากกว่าการใช้บริการบริษัททัวร์ พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความสนใจของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มก็มีความแตกต่างหลากหลายมาก การให้บริการในธุรกิจโรงแรม จึงต้องปรับเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น เวลา Check In -Check Out เวลาในการรับประทานอาหารเช้า สถานที่รับประทานอาหาร รวมถึงเวลาในการใช้พื้นที่บริการภายในโรงแรม เช่น สระว่ายน้ำ ซาวน่า ห้องออกกำลังกาย หรือตารางกิจกรรมที่โรงแรมจัดให้กับลูกค้า เช่น กีฬาทางน้ำ โยคะ สอนทำอาหาร

        เหมือนกับที่ SC Spark Solution บริษัทรับทำแอพฯของเราก็ได้คิดถึงเรื่องนี้และได้ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันธุรกิจการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น แอพจองโรงแรม แอพจองบริการนวด แอพจองคิวเข้าร้านต่างๆ เป็นต้นซึ่งจะรองรับโอกาสหลังจากที่โควิดหมดไปและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาประเทศไทยอย่างมหาศาลในอนาคตนี้

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูลจาก : แนวโน้มการท่องเที่ยวของโลกที่ไม่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19 : ศ. วิทวัส รุ่งเรืองผล

 


 

สำหรับท่านที่ต้องการทำ แอพ E-Commerce , App ช้อปปิ้ง หรือ แอพ Delivery แล้วล่ะก็ เราขอแนะนำ บริษัท SC-Spark Solution  บริษัท รับทำแอป เป็นบริษัทที่รับทำแอพพลิเคชั่น ที่มากประสบการณ์ โดยมีประสบกาณ์โดยตรงจาก Silicon Valley เป็นบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นมากกว่า 100 บริษัททั่วโลก ทั้งแบบ Custom และ สำเร็จรูปให้คุณได้เลือกใช้ หากใครสนใจ บริการทำโมบายแอพพลิเคชั่น หรือ เว็บไซต์ สามารถติดต่อได้ที่นี่  

ติดต่อเราได้ที่

062-974-9495

Line : @scspark

Email : [email protected]

Facebook : SC-Spark Solution บริการทำแอปพลิเคชั่น


“Nothing is impossible”