เมื่อ Food Delivery อย่าง Uber Eats เอากาต้าจากพฤติกรรมการสั่งอาหารของคนในระแวกนั้นไปบอกร้านอาหารให้ปรับครัวตามดาต้าให้ทันแล้วทำให้ยอดขายพุ่งพรวดจนทำให้ร้านอาหารเลิกขายเมนูเดิมไปเลย

        คุณเคยสังเกตุไหมครับว่าร้านค้าหรือร้านอาหารต่างๆมักจะส่งโปรโมชั่นให้ตรงใจเราได้เสมอโดยเฉพาะธุรกิจค่ายใหญ่อย่าง McDonald’s หรือ KFC นั้นก็เพราะเขารู้ว่า ใคร + ชอบกินอะไร + กินที่ไหน + เมื่อไหร่ + กินบ่อยแค่ไหน เมื่อข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้เจ้าของแพลตฟอร์มเหล่านี้เห็นโอกาสจากดาต้าและสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่ออกโปรโามชั่นให้แก่ลูกค้าได้

        Grab เองก็ได้เห็นถึงโอกาสนี้เช่นกัน และก็ได้ทำ Project Grab Kitchen ที่เป็นการรวมร้านอาการดังไว้ในจุดเดียว จุดที่มีแต่ครัวโดยไม่ต้องมีหน้าร้าน เพราะ Grab รู้จากดาต้าอยู่แล้วว่าคนในพื้นที่นี้ชอบกินอาหารแนวไหนหรือร้านอะไร จากนั้นก็ชวนบรรดาร้านต่างๆให้มารวมตัวในที่เดียวกันเพื่อทำอาหารส่งลูกค้า Grab เท่านั้น เพราะข้อดีคือทำให้ลูกค้าที่สั่งอาหารผ่าน Grab สามารถได้อาหารที่อยากกินเร็วขึ้น และนั้นก็หมายความว่า Grab เองก็สามารถเก็บค่าเดลิเวอรี่ได้เร็วขึ้นตามไปด้วย

        เรื่องนี้มีต้นแบบมาจากบริษัทหนึ่งในอเมริกาในปี 2017 บริษัท Uber ที่ได้ทำ Uber Eats ซึ่งสิ่งที่ Uber Eats ทำนั้นก็คือ เขาเอา Data จากลูกค้าที่สั่งอาหารมากมายผ่านแอปพลิเคชันมาบอกให้ร้านอาหารรู้ว่าควรต้องปรับตัว ปรับครัว และปรับเมนูอย่างไรถึงจะเพิ่มยอดขายสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล

        เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อ Uber Eats วิเคราะห์จากดาต้าก็ทำให้พบว่าลูกค้าในระแวกนี้ชอบกินเมนูไก่ทอดมากเป็นพิเศษ สั่งกินกันทั้งวันสั่งจนร้านที่ขายไก่ทอดเดิมนั้นทำส่งไม่ค่อยทันใจลูกค้าเลย ก็อย่างที่เรารู้กันว่าผู้บริโภคสมัยนี้รอไม่ได้ ทำให้หลายครั้งเมื่อต้องรอนานเกินไป หลายคนก็กดยกเลิกออร์เดอร์ไปอย่างน่าเสียดาย ทาง Uber Eats เลยดูว่าพวกเขาจะทำอย่างไรได้บ้าง ถึงจะทำให้มีร้านพิซซ่าร้านหนึ่งที่มีเครื่องทอดพร้อมอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาร้านนี้ไม่เคยชูเมนูไก่ทอดขึ้นมาเป็นเมนูหลัก

        ทาง Uber Eats จึงติดต่อเข้าไปยังเจ้าของร้าน เอาดาต้าไปให้เขาดูว่าคนในพื้นที่ใกล้ร้านคุณชอบกินไก่ทอดมาก แล้วครัวในร้านคุณเองก็มีอุปกรณ์ที่พร้อมจะทำเมนูนี้อยู่แล้ว สนใจจะมาเปิดร้านอาหารใหม่บน Uber Eats เท่านั้นหรือไม่ ที่จะเน้นขายเมนูไก่ทอดที่ทุกคนต่างชอบเป็นพิเศษ

        เชื่อไหมครับว่าเมื่อทางร้านพิซซ่าเดิมลองเปิดร้านใหม่ที่เป็น Virtual Restaurant หรือร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน แต่มีขายในแอพฯ Uber เท่านั้น เปิดได้ไม่ถึงปี ก็พบว่าเมนูใหม่นี้ขายดีมาก มากขนาดว่าขายได้ไม่ถึงปี ยอดขายจาร้านที่ไม่มีหน้าร้านแต่มีแค่บนแอพฯ สามารถทำรายได้แซงร้านหลักที่ขายพิซซ่าไปเลยทีเดียวครับ

จากเรื่องราวข้างต้นเราสามารถสรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดังนี้

  • Uber Eats เริ่มจากการดูดาต้าว่าอาหารประเภทไหนที่ขายดีตามแต่ละพื้นที่
  • จากนั้นเข้าไปดูในรายละเอียดว่ามีอะไรที่เป็นโอกาสที่จะทำให้ดีขึ้นบ้าง
  • เขาจึงพบว่าเมื่อคนสั่งเยอะ แต่ร้านอาหารน้อย ทำให้คนรอนาน จนทำให้เกิดการยกเลิกออร์เดอร์เพิ่มมากขึ้น
  • เอาเมนูที่คนชอบกินมาวิเคราะห์ต่อว่าถ้าเอาดาต้านั้นไปบอกต่อร้านอาหารที่มีครัวพร้อมทำเมนูเดียวก้นได้แค่ปรับเมนู
  • Uber Eats เอาดาต้าในมือไปบอกต่อเจ้าของร้านที่มีครัวพร้อมให้เปิดร้านใหม่ขายเมนูนี้แค่บนแพลตฟอร์ม
  • ผลคือเจ้าของร้านขายดีมากจนยอดขายแซงหน้าเมนูเดิมที่มีหน้าร้าน ทางคนสั่งก็ได้กินเมนูที่เขาอยากกินเร็วขึ้น สุดท้ายคนส่งอาหารก็สามารถส่งอาหารได้เร็วขึ้นจนได้ค่าส่งเพิ่มขึ้น และ Uber Eats เองก็ได้ส่งแบ่งจากทุกฝ่ายจนบริษัทโตขึ้น

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : DATA-DRIVEN MARKETING การตลาดแบบฉลาดใช้ดาต้า

 


 

สำหรับท่านที่ต้องการทำ แอพ E-Commerce , App ช้อปปิ้ง หรือ แอพ Delivery แล้วล่ะก็ เราขอแนะนำ บริษัท SC-Spark Solution  บริษัท รับทำแอป เป็นบริษัทที่รับทำแอพพลิเคชั่น ที่มากประสบการณ์ โดยมีประสบกาณ์โดยตรงจาก Silicon Valley เป็นบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นมากกว่า 100 บริษัททั่วโลก ทั้งแบบ Custom และ สำเร็จรูปให้คุณได้เลือกใช้ หากใครสนใจ บริการทำโมบายแอพพลิเคชั่น หรือ เว็บไซต์ สามารถติดต่อได้ที่นี่  

ติดต่อเราได้ที่

062-974-9495

Line : @scspark

Email : [email protected]

Facebook : SC-Spark Solution บริการทำแอปพลิเคชั่น


“Nothing is impossible”