ใหญ่แค่ไหนสำหรับตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซ ที่มีสัดส่วนถึง 60% ของตลาดอีคอมเมิร์ซ 2.7 แสนล้านบาทในปี 2564 และตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซยังเติบโตเฉลี่ยปีละ 15-20% ผ่านการขับเคลื่อนของผู้ประกอบการขนาดเล็กเป็นหลัก
เมื่อตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซคือโอกาสที่หอมหวนในไทยจึงไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นพ่อค้าแม่ขาย เปิดร้านในโซเชียลมีเดีย เป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักเพื่อขายสินค้าและบริการของตัวเองวันนี้ SC Spark Solution บริษัทรับทำแอป จะมาเล่าให้ฟัง
จากซื้อขายผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ การสำรวจของ YouGov พบว่าในช่วงโควิด-19 ช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซยอดนิยมของคนไทย ได้แก่ เฟซบุ๊ก 58% ไลน์ 35% ไอจี 21% การที่เฟซบุ๊กตัดอันดับหนึ่งในช่องทางยอดนิยมส่วนหนึ่งมาจากคนไทยมีพฤติกรรมซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กในรูปแบบต่างๆ มาอย่างยาวนาน จากการมองว่าสะดวก ไถฟีดไปเจอ ก็สามารถสอบถามรายละเอียดและ CF ได้ รวมถึงพ่อค้าแม่ขายในเฟซบุ๊กยังมีการขายผ่านไลฟ์สดในรูปแบบต่างๆ ที่ดึงดูดและน่าสนใจอีกด้วย
แต่สำหรับอันดับที่สองอย่างไลน์ ถือเป็นช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซ ที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่ง จากการที่พ่อค้าแม่ขาย ใช้ไลน์เป็นเครื่องมือในการส่งข้อความไปถึงลูกค้าที่เข้ามาติดตามรวมถึงเปิดร้านค้าผ่านไลน์ช้อปปิ้ง ซึ่งเป็นฟีเจอร์ร้านค้าในแอปไลน์ ที่ไลน์เปิดให้บริการเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา
ในงานแถลงข่าว ไลน์ช้อปปิ้ง หนุนผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย และคนไทยรับมือสถานการณ์โควิด-19 เลอทัด ศุภดิลก หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ LINE ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่าไลน์ช้อปปิ้งมีการเติบโต 272% จากปีที่ 2563 การเติบโตนี้มาจากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ 7 ล้านราย เพิ่มจากปี 2563 ที่มี 3 ล้านราย ต่อเดือน และมีร้านค้าเข้ามาเปิดร้านค้าในไลน์ช้อปปิ้งเพิ่มขึ้น 64% จากการไม่เก็บค่า GP ร้านค้า โดยปัจจุบันมีร้านค้า 200,000 ร้านค้า ร้านค้าที่เข้ามาเปิดกับไลน์ช้อปปิ้งมียอดขายเฉลี่ยต่อเดือน 150,000-500,000 บาท ต่อร้าน จากลูกค้าซื้อสินค้าเฉลี่ย 1,000-1,200 บาท ต่อออเดอร์ และ 80% ชำระเงินโดยการโอนเงินผ่านธนาคาร และ 20% ชำระผ่านเครดิตการ์ดและ Rabbit LINE Pay โดยสินค้าที่ขายดี ได้แก่ แฟชั่น สุขภาพและความงาม อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ภายในบ้าน และไอทีแกดเจ็ต ส่วนเวลาที่คนนิยมซื้อของมากที่สุด อยู่ในช่วงเวลา 12:00 น. และ 20:00 น.
สิ่งที่ทำให้ไลน์ช้อปปิ้งประสบความสำเร็จ นอกเหนือจากจุดเด่นที่เหมือนกับโซเชียลแพลตฟอร์มอื่นๆ คือ ผู้ขายส่วนใหญ่แล้วจะเป็นร้านค้าขนาดเล็กที่ผู้ขายสามารถตอบรายละเอียดของสินค้าตามที่ผู้สอบถามเพิ่ม พร้อมให้คำแนะนำต่างๆ ได้เรียลไทม์ผ่านการแชท ไลน์ช้อปปิ้งมียอดการเติบโตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจาก จุดเด่นที่แตกต่างในเรื่องของ การแจก LINE Points ให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้า เพื่อให้ลูกค้านำ LINE Point ใช้แทนเงินแลกสินค้าและบริการต่างๆ ในไลน์ได้ เลอทัด กล่าวว่าการแจก LINE Points สามารถเพิ่ม Basket Size ได้ถึง 50% และ เพิ่มอัตราการกลับมา ซื้อซ้ำเพิ่มขึ้นถึง 12%
แต่สำหรับความท้าทายของไลน์ช้อปปิ้ง เรามองว่ายังมีความท้าทายในการดึงลูกค้าและร้านค้าเข้ามาในแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น เพราะในวันนี้ไลน์มีผู้ใช้บริการไลน์แชท 49 ล้านราย แต่มีลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าในไลน์ช้อปปิ้งเพียง 7 ล้านคน เท่านั้น แม้ผู้ซื้อจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่าเท่าตัวก็ตาม สิ่งที่เรามองว่าการที่ไลน์ช้อปปิ้งยังมีผู้ซื้อไม่มานัก เมื่อเทียบกับผู้ใช้ไลน์แชท เนื่องจากผู้ที่ใช้บริการไลน์แชทจะไม่เห็นสินค้าในไลน์ช้อปปิ้ง ถ้าไม่เลือกเข้าไปในไอคอน ไลน์ช้อปปิ้ง เพื่อเข้าดูสินค้า ซึ่งแตกต่างจากโซเชียลคอมเมิร์ซอย่างเฟซบุ๊กที่สามารถไถฟีดไปเจอสินค้าได้ง่ายกว่า แต่การเข้าไปดูสินค้าผ่านไอคอนมีข้อดีคือลูกค้าที่เข้ามามีความตั้งใจเข้ามาดูสินค้า และซื้อสินค้าจริงๆ เหมือนกับช่องทางอีมาร์เก็ตเพลส ซึ่งแตกต่างจากเฟซบุ๊กที่ลูกค้าส่วนหนึ่งซื้อสินค้าจากการไถฟีดเจอ ทำให้ร้านค้าอาจจะต้องเสียเงินค่าโฆษณาหรือ Boots Post เพื่อให้ว่าที่ลูกค้าเห็นสินค้าและร้านค้าของตัวเอง เป็นต้น รวมถึงสินค้าที่อยู่ในไลน์ช้อปปิ้ง ในหน้าแรกค่อนข้างกระจัดกระจาย เมนูเลือกดูตามหมวดหมู่ค่อนข้างเล็ก ทำให้ลูกค้าบางคนที่ไม่สังเกตอาจจะมองไม่เห็น
เป้าหมายเลอทัดในการพลักดันไลน์ช้อปปิ้งให้เติบโตต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องของการสร้างประสบการณ์การใช้งาน โดยเป้าหมายของไลน์ช้อปปิ้งในครึ่งปีหลัง 2564 คือการสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ให้กับผู้ซื้อและผู้ขายใหม่ๆ เช่น Curated Browsing Experience สร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบ Seamless ผ่านการจัดหมวดหมู่สินค้าอย่างเป็นระบบระเบียบและสบายตา Easier Discovery เพิ่มช่องทางเข้าถึงร้านค้าด้วยฟีเจอร์ Search นอกเหนือจากการแอด LINE OA ของร้าน มี Campaign Support กับการสร้างช้อปปิ้งธีมในแต่ละเดือนเพื่อกระตุ้นการซื้อขาย และการนำ LINE Points สร้าง Traffic และการซื้อซ้ำ กระตุ้นยอดขายผ่าน LIVE Commerce โดยนำดาราและเซเลบริตี้ที่มีชื่อเสียงมาดำเนินรายการ เช่น รายการ @TuesLive โดยป้าตือ-สมบัษร รายการแซะแซ่บ โดย อั๋น-ภูวนาท และ บุ๋ม-ปนัดดา และเตรียมจัดกิจกรรมและสื่อการสอนผ่านออนไลน์ที่ดีไซน์มาเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Business) โดยเฉพาะ เพื่อให้เข้าใจเทรนด์และสามารถสร้างกลยุทธ์การขายของตัวเองผ่านทาง MyShop ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้การปรับตัวของไลน์ช้อปปิ้งจะสร้างการเติบโตได้มากน้อยแค่ไหน คงต้องดูกันต่อไป ในวันที่ใครๆ ก็ซื้อของออนไลน์ผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ
สำหรับท่านที่ต้องการทำ แอพ E-Commerce , App ช้อปปิ้ง หรือ แอพ Delivery แล้วล่ะก็ เราขอแนะนำ บริษัท SC-Spark Solution บริษัท รับทำแอป เป็นบริษัทที่รับทำแอพพลิเคชั่น ที่มากประสบการณ์ โดยมีประสบกาณ์โดยตรงจาก Silicon Valley เป็นบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นมากกว่า 100 บริษัททั่วโลก ทั้งแบบ Custom และ สำเร็จรูปให้คุณได้เลือกใช้ หากใครสนใจ บริการทำโมบายแอพพลิเคชั่น หรือ เว็บไซต์ สามารถติดต่อได้ที่นี่
ติดต่อเราได้ที่
Facebook : SC-Spark Solution บริการทำแอปพลิเคชั่น
“Nothing is impossible”
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก :
Facebook Fanpage Marketeer Online