ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย 2563 เติบโตอย่างก้าวกระโดดช่วงโควิดระบาด ในวันที่ใคร ๆ กักตัวอยู่บ้าน จากสถานการณ์โควิด-19 ที่มาพร้อมกับห้างร้านที่ปิด ผลักดันให้คนไทยช้อปออนไลน์มากขึ้น และทำให้ธุรกิจช้อปออนไลน์มีมูลค่าสูงกว่า 220,000 ล้านบาท วันนี้ SC Spark Solution บริษัทรับทำแอป จะมาวิเคราะห์ตลาดของ e-commerce ใครคุณได้รู้

         ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด คาดการณ์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หรือช้อปออนไลน์ในกลุ่ม C2C หรือ Customer to Customer ไม่รวมบริการจองที่พักโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน ดิจิทัลคอนเทนต์ และบริการอื่น ๆ ที่จับต้องไม่ได้ พบว่าในปี 2563 ธุรกิจช้อปออนไลน์มีมูลค่าที่ 220,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4-5% ของค้าปลีกทั้งประเทศ และแอปช้อปปิ้งออนไลน์ในปี 2563 มีการเติบโต 35% จากปี 2562 ที่มีมูลค่า 163,300 ล้านบาท สัดส่วน 3% ของค้าปลีกทั้งประเทศเลยทีเดียว

         เมื่อมองมาที่สัดส่วนยอดจำหน่ายผ่านช้อปออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ พบว่าพฤติกรรมคนไทย มีสัดส่วนซื้อสินค้าจากช่องทาง eMarketplace มากขึ้น จากข้อมูลของไพรซ์ซ่าพบว่าในปี 2561 ช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์มีสัดส่วนคือจาก Social Media 40% จาก eMarketplace 35% และจาก Brand.com 25% ซึ่งมาเทียบในปี 2562 มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนยอดจำหน่ายดังนี้ Social Media 38% eMarketplace 47% และ Brand.com 15%

         การเติบโตของสัดส่วนยอดจำหน่ายผ่าน eMarketplace ในปีที่ผ่านมา มาจากการเพิ่มขึ้นของผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ อย่างเช่น NocNoc ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ไพรซ์ซ่ามองว่าเป็นหนึ่งใน eMarketplace นอกจากนี้ eMarketplace ที่มีการปรับตัวเป็น Social Media มากขึ้น เช่นการมีฟีเจอร์แชต จากการมองเห็นพฤติกรรมคนไทยชอบคุยกับคนขายก่อนซื้อ รวมถึงการเพิ่ม Live Commerce เข้ามาเป็นจุดขายดึงความสนใจนักช้อปตอบสนองไลฟ์สไตล์คนไทย

         และที่ธุรกิจ e-commerce เติบโตได้ขนาดนี้เป็นเพราะธุรกิจยอมขาดทุนจากแคมเปญการตลาดต่างๆ รวมไปถึงเกมส์ในแอพเองก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจแบกรับอยู่ เพื่อดึงดูดให้นักช้อปเข้ามาในแพลตฟอร์มเป็นประจำ ส่วนโซเชียลมีเดีย แม้จะมีสัดส่วนที่ลดน้อยลง แต่ยังมีการเติบโตด้านมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะการขายสินค้าในรูปแบบ Live Commerce

         แต่ช่องทางที่มีสัดส่วนลดลงอย่างเห็นได้ชัดคือ Brand.com เนื่องจากเป็นช่องทางที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ทั้งการลงทุนเทคโนโลยี การจัดการ และการตลาด ทำให้การขายสินค้าในช่องทาง Brand.com ส่วนใหญ่จึงเป็นผู้เล่นรายใหญ่เท่านั้น เพราะมองว่าเป็นช่องทางที่เป็นเจ้าของเอง และสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการได้ด้วยตัวเอง ธนาวัฒน์ได้กล่าวว่า จะมีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นจากผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ แต่ตลาดในประเทศไทยยังคงมีเพียงผู้เล่นหลักเพียง 2 รายเท่านั้น ได้แก่ ลาซาด้าและช้อปปี้ในปีที่ผ่านการสำรวจของไพรซ์ซ่าพบว่า ช้อปปี้มี 54% และ ลาซาด้า 46% แม้ลาซาด้าจะบุกตลาด eMarketplace ในประเทศไทยก่อนก็ตาม ทำให้เราได้รู้ว่าธุรกิจที่มาก่อนไม่ใช่แบรนด์อันดับ 1 เสมอไป และเจ้าที่มาทีหลังก็ยังมีโอกาสที่ตะเติบโตเป็นเจ้าอันดับ 1 ในตลาด e-commerce นี้ได้

สำหรับ Social Commerce ในปีที่ผ่านมาพบว่าสัดส่วนมาจาก Facebook 42%, Line 34%, IG 19%, Twitter 5%

         สินค้ายอดฮิตของ ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย สำหรับในปี 2563 จากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นไพรซ์ซ่าให้ข้อมูลเปรียบเทียบสินค้ายอดนิยมที่ผู้บริโภคค้นหา เปรียบเทียบราคาผ่านไพรซ์ซ่าในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ในไทย กับช่วงมีนาคม-เมษายน 2563 ช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า มีกลุ่มสินค้าที่มีการเติบโตด้านการค้นหากลุ่มสินค้าที่มียอดลดลงในการค้นหาอย่างเห็นได้ชัด ที่เป็นดาวรุ่งและร่วงดังนี้

สินค้าที่ขายแล้วรุ่ง

  • สุขภาพและความงาม เติบโต 34%
  • อุปโภคบริโภคในครัวเรือน เติบโต 34%
  • หนังสือ เติบโต 27%
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า เติบโต 22%
  • คอมพิวเตอร์ เติบโต 4%
  • เฟอร์​นิเจอร์ เติบโต 2%

สินค้าที่ขายแล้วร่วง

  • รถ ยานพาหนะ ลดลง 44%
  • เสื้อผ้าและแฟชั่น ลดลง 41%
  • กีฬา สัตว์เลี้ยง เอาต์ดอร์ และของสะสม ลดลง 28%
  • โทรศัพท์ อุปกรณ์สื่อสาร ลดลง 27%

         สำหรับกลุ่มสินค้าสุขภาพความงามซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการเติบโต 5 อันดับแรกที่ผู้บริโภคค้นหาสินค้าในกลุ่มนี้เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันตัวจากโควิด ทั้งหมด ได้แก่ หน้ากาก แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เช่น ศิริบัญชา เสือดาว และเป็นคำค้นหาที่มีการเติบโตมากที่สุด เครื่องวัดอุณหภูมิ เจลล้างมือ สมุนไพรฟ้าทะลายโจร หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า 5 อันดับแรกในการค้นหาได้แก่ เครื่องกรองอากาศ เครื่องดูดฝุ่น เช่น เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Xiaomi Deerma และเป็นหมวดคำค้นหาที่มีการเติบโตสูงสุด เครื่องซักผ้า ตู้เย็น หม้อและกระทะไฟฟ้า เช่น หม้อทอดไร้น้ำมัน

         หมวด อุปโภคบริโภค 5 คำค้นหายอดนิยมได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เดทตอล ทิชชู่เปียก กุนเชียง ข้าว สุรา ส่วนการค้นหาที่ลดลงอย่างเช่นหมวดแฟชั่น นาฬิกาข้อมือ กระเป๋า รองเท้าผ้าใบ เสื้อผู้หญิง และรองเท้ากีฬา มีการค้นหาที่ลดน้อยมากที่สุด ทั้งนี้ การมาของโควิด-19 ทำให้ Customer Journey เปลี่ยนไปสู่ออนไลน์มากขึ้น แต่หลังการปลดล็อกของห้างสรรพสินค้าจะทำให้คนกลับมาเดินห้าง และได้เห็นพฤติกรรมการซื้อสินค้าในรูปแบบออมนิชาแนลมากขึ้น และซื้อสินค้าในช่องทางที่ถูกที่สุดหรือสะดวกที่สุดแทน

 


 

สำหรับท่านที่ต้องการทำ แอพ E-Commerce , App ช้อปปิ้ง หรือ แอพ Delivery แล้วล่ะก็ เราขอแนะนำ บริษัท SC-Spark Solution  บริษัท รับทำแอป เป็นบริษัทที่รับทำแอพพลิเคชั่น ที่มากประสบการณ์ โดยมีประสบกาณ์โดยตรงจาก Silicon Valley เป็นบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นมากกว่า 100 บริษัททั่วโลก ทั้งแบบ Custom และ สำเร็จรูปให้คุณได้เลือกใช้ หากใครสนใจ บริการทำโมบายแอพพลิเคชั่น หรือ เว็บไซต์ สามารถติดต่อได้ที่นี่

ติดต่อเราได้ที่

062-974-9495

Line : @scspark

Email : [email protected]

Facebook : SC-Spark Solution บริการทำแอปพลิเคชั่น


“Nothing is impossible”